วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์


ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์
                เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1915 เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก

บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม

                ขั้นที่ 1 Enactive representation (การแสดงความคิดด้วยการกระทำ) แรกเกิด – 2 ขวบ ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของต่างกับผู้ใหญ่ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น

                ขั้นที่ 2 Iconic representation (ขั้นการคิดเริ่มจากสิ่งที่มองเห็น) ในพัฒนาทางขั้นนี้จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็กยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริงบรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก

                ขั้นที่ 3 Symbolic representation (ขั้นการคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษา)ในพัฒนาการทางขั้นนี้         บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolicmode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม

แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ขั้นพัฒนาการต่างๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
- ระดับประถมปลาย
- ระดับมัธยมศึกษา
- ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น

แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1 ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2 โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3 การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4 การเสริมแรงของผู้เรียน

สรุป
         บรูเนอร์มีความเห็นว่าคนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า acting, imaging และsymbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น 

ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีของเพียเจต์และบรูเนอร์


เพียเจต์
บรูเนอร์
- เพียเจต์มองเห็นว่าพัฒนาการทางสมองของเด็กมีขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ กำหนดลงไปเลยว่าเด็กในวัยใดจะมีพัฒนาการทางสมองในเรื่องใด
- บรูเนอร์ไม่ได้คำนึงถึงอายุ เห็นว่ากิจกรรมต่างๆที่เด็กทำอันเนื่องมาจากพัฒนาทางสมองที่เกิดในช่วงแรกเกิดของชีวิต คนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในช่วงหลังๆของชีวิตได้อีกด้วย
- เพียเจต์คำนึงถึงพัฒนาการทางสมองในแง่ของความสามารถในการกระทำสิ่งต่างๆในแต่ละวัย
- บรูเนอร์คำนึงในแง่ของการกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต

- บรูเนอร์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้าลงหรือชะงักลงและสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะช่วยให้พัฒนาการเป็นไปอย่างรวดเร็ว


0 ความคิดเห็น:

พัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก



พัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก


ประวัติของโคลเบิร์ก
                ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)  ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์  ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
                โคลเบิร์ก (Lawrence  Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป

ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
โคลเบิร์กได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น

ระดับที่  1 ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี
โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
      ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า พฤติกรรมของตน ถูก” หรือ ผิด” เป็นต้นว่า ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ผิดและจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ ถูก” และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล
ขั้นที่ 2  ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
                ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับเพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเองหรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทนหรือรางวัลพฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเองแต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน ฉันจะให้.......

ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 3 การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
                ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อนไม่เป็นตัวของตัวเองคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดีพบในวัยรุ่นอายุ 10-15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะการช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ
ขั้นที่ 4  กฎและระเบียบของสังคม
       จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคมโดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ13 -16 ปี
 ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคมโดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้นจึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆที่สังคมกำหนดให้หรือคาดหมายไว้

ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
                เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตามการตัดสินใจ ถูก”  “ผิด” “ไม่ควรมาจากวิจารณญาณของตนเอง
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา
     ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตามโดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูกในขั้นนี้การ ถูกและ ผิดขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6  หลักการคุณธรรมสากล
           ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากลเป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคนในขั้นนี้สิ่งที่ ถูกและ  ผิด”  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ

0 ความคิดเห็น:

ทฤษฏีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต

ทฤษฏีงานพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต


แนวคิดของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
            ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
            ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการ  ฮาวิกเฮิร์ส  ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว  สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย  ดังนั้น ฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง
1. วุฒิภาวะทางร่างกาย
2. ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
3. ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
     3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach)
     3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3. พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
     3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
     3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)
4. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)

พัฒนาการตามวัย
               ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1. วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี)
- เรียนรู้ที่จะเดิน
-เรียนรู้ที่จะรับประทาน
-เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันตนเองกับพ่อแม่  เป็นต้น
2. วัยเด็กตอนกลาง ( 6-12 ปี )                  
- เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากันได้กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน                   
- สามารถช่วยตนเองได้                                                                                     
- พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ เป็นต้น
3. วัยรุ่น (12-18 ปี)
- รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
- สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมได้
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้
4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ( 18-35 ปี)
- มีการเลือกคู่ครอง
- รู้จักจัดการภารกิจในครอบครัว
5. วัยกลางคน (35-60 ปี)
-  รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์        
- เรียนรู้ที่จะยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
 6. วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)                                                                                          
- สามารถรับตัวได้กับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง               
- ปรับตัวได้กับการที่ต้องเกษียณอายุตลอดจนเงินเดือนลดลง

หลักพัฒนาการแนวคิด
- สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
- เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
- พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
- มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถสังเกตพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้

0 ความคิดเห็น:

ทฤษฎีจิต-สังคมของอิริคสัน


ทฤษฎีจิต-สังคมของอิริคสัน





ประวัติ
            อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ

แนวคิด
           แต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต (จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ ขั้นที่ 2 การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย ขั้นที่3 การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด

ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ 
         
 ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) 
          ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็น จะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลด เปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น 

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) 
          อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วย ให้เด็กมีความอิสระพึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง 
         
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) 
          วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่ 
          
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority) 
          อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง 

ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทใน 
สังคม (Ego Identity vs Role Confusion) 

          อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 
          
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ 
ระยะต้น (Young Adulthood) 

          เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมี 
ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอม 
เห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมี 
บ้านของตนเอง 
          
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) 
          อีริควันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชน รุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้ คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป 

ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) 
          วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมาผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตายยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย



0 ความคิดเห็น: