ทฤษฎีการเรียนรู้ของจอห์น บี วัตสัน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson)
เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน มีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี
ค.ศ. 1878 – 1958 รวมอายุได้ 90 ปี วัตสันได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาและถือว่าเขาเป็นผู้นำแห่งกลุ่มจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม
และทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข
หลักการเรียนรู้ของวัตสัน
ซึ่งเป็นการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
คือการใช้สิ่งเร้าสองสิ่งคู่กัน สิ่งเร้าที่มีการวางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS)
เพื่อให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการ
คือ การเรียนรู้นั่นเองและการที่จะทราบว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคได้ผลหรือไม่
ก็คือการตัดสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (CS) ถ้ายังมีการตอบสนองเหมือนเดิมที่ยังมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขอยู่แสดงว่าการวางเงื่อนไขได้ผล
สิ่งที่เพิ่มเติมในหลักการเรียนรู้ของวัตสัน
คือแทนที่จะทดลองกับสัตว์ เขากลับใช้การทดลองกับคน เพื่อทดลองกับคน ก็มักจะมีอารมณ์มากเกี่ยวข้อง
วัตสันกล่าวว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น อารมณ์กลัวมีผลต่อสิ่งเร้าบางอย่างตามธรรมชาติอยู่แล้ว
อาจจะทำให้กลัวสิ่งเร้าอื่นที่มีอยู่รอบ ๆ ต่างกายอีกได้จากการเงื่อนไขแบบคลาสสิค
โดยให้สิ่งเร้าที่มีความกลัวตามธรรมชาติ เป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS)
กับสิ่งเร้าอื่นที่ต้องการให้เกิดความกลัว
เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) มาคู่กันบ่อย ๆ
เข้าในที่สุดก็จะเกิดความกลัวในสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขได้
และเมื่อทำให้เกิพฤติกรรมใดได้ วัตสันเชื่อว่าสามารถลบพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
การทดลอง
การทดลองของวัตสัน วัตสันได้ร่วมกับเรย์เนอร์ (Watson and
Rayner 1920)
ได้ทดลองวางเงื่อนไขเด็กอายุ 11 เดือน ด้วยการนำเอาหนูตะเภาสีขาวเสนอให้เด็กดูคู่กับการทำเสียงดัง
เด็กตกใจจนร้องไห้ เมื่อนำเอาหนูตะเภาสีขาวไปคู่กับเสียงดังเพียงไม่กี่ครั้ง
เด็กก็เกิดความกลัวหนูตะเภาสีขาว และกลัวสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายหนูตะเภาหรือมีลักษณะสีขาว เช่น
กระต่าย สุนัข เสื้อขนสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่คลายคลึงกัน
ความคล้ายคลึงกันทำให้กรริยาสะท้อนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งเร้ามากขึ้นเด็กที่เคยกลัวหมอฟันใส่เสื้อสีขาว
ก็จะกลัวหมอคนอื่นที่แต่งตัวคล้ายกันความคล้ายคลึงกันก็สามารถทำให้ลดลง โดยการจำแนกได้เช่นเดียวกัน
เช่นถ้าหากต้องการให้เด็กกลัวเฉพาะอย่าง ก็ไม่เสนอสิ่งเร้าทั้งสองอย่างพร้อมกัน
แต่เสนอสิ่งเร้าทีละอย่างโดยให้สิ่งเร้านั้นเกิดความรู้สึกในทางผ่อนคลายลง
จากการทดลองดังกล่าว
วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้
โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2. เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้
ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
1. การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้า
หรือสิ่งเร้าเป็นตัวดึงการตอบสนองมา
2. การตอบสนองเกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ
หรือไม่ได้จงใจ
3. ให้ตัวเสริมแรงก่อน
แล้วผู้เรียนจึงจะตอบสนอง เช่น ให้ผงเนื้อก่อนจึงจะมีน้ำลายไหล
4. รางวัลหรือตัวเสริมแรงไม่มีความจำเป็นต่อการวางเงื่อนไข
6. เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาสะท้อนและอารมณ์
ซึ่งมีระบบประสาทอัตโนมัติเข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1. ในแง่ของความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความแตกต่างทางด้านอารมณ์มีแบบแผน
การตอบสนองได้ไม่เท่ากัน
จำเป็นต้องคำนึงถึงสภาพทางอารมณ์ผู้เรียนว่าเหมาะสมที่จะสอนเนื้อหาอะไร
2. การวางเงื่อนไข
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ด้วย โดยปกติผู้สอนสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกชอบหรือไม่ชอบเนื้อหาที่เรียนหรือสิ่งแวดล้อมในการเรียน
3. การลบพฤติกรรมที่วางเงื่อนไข
ผู้เรียนที่ถูกวางเงื่อนไขให้กลัวผู้สอน
เราอาจช่วยได้โดยป้องกันไม่ให้ผู้สอนทำโทษเขา
4. การสรุปความเหมือนและการแยกความแตกต่าง
เช่น การอ่านและการสะกดคำ ผู้เรียนที่สามารถสะกดคำว่า "round" เขาก็ควรจะเรียนคำทุกคำที่ออกเสียง o-u-n-d
ไปในขณะเดียวกันได้
เช่นคำว่า found, bound, sound, ground, แต่คำว่า wound (บาดแผล)
นั้นไม่ควรเอาเข้ามารวมกับคำที่ออกเสียง o
- u - n - d และควรฝึกให้รู้จักแยกคำนี้ออกจากกลุ่ม
0 ความคิดเห็น: