ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์
ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์
เจโรม
บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1915 เป็นนักการศึกษา
และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
บรูเนอร์มีความเชื่อว่า “ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ
และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม ”
ขั้นที่ 1 Enactive representation (การแสดงความคิดด้วยการกระทำ) แรกเกิด –
2 ขวบ ในวัยนี้
เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้หรือเรียกว่า Enactive
mode เด็กจะใช้การสัมผัส
เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น
การเลียนแบบ
หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของต่างกับผู้ใหญ่ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น
ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
ขั้นที่ 2 Iconic representation (ขั้นการคิดเริ่มจากสิ่งที่มองเห็น)
ในพัฒนาทางขั้นนี้จะเป็นการใช้ความคิด
เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ
การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็กยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น
การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริงบรูเนอร์ได้เสนอแนะ
ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ขั้นที่ 3 Symbolic representation (ขั้นการคิดโดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษา)ในพัฒนาการทางขั้นนี้
บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น
การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolicmode
ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ขั้นพัฒนาการต่างๆ
ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
- ระดับประถมปลาย
- ระดับมัธยมศึกษา
- ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ
4
ประการ คือ
1 ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2 โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3
การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4 การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป
บรูเนอร์มีความเห็นว่าคนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า
acting, imaging และsymbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น
ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีของเพียเจต์และบรูเนอร์
เพียเจต์
|
บรูเนอร์
|
- เพียเจต์มองเห็นว่าพัฒนาการทางสมองของเด็กมีขั้นตอน
ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ กำหนดลงไปเลยว่าเด็กในวัยใดจะมีพัฒนาการทางสมองในเรื่องใด
|
- บรูเนอร์ไม่ได้คำนึงถึงอายุ
เห็นว่ากิจกรรมต่างๆที่เด็กทำอันเนื่องมาจากพัฒนาทางสมองที่เกิดในช่วงแรกเกิดของชีวิต
คนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในช่วงหลังๆของชีวิตได้อีกด้วย
|
- เพียเจต์คำนึงถึงพัฒนาการทางสมองในแง่ของความสามารถในการกระทำสิ่งต่างๆในแต่ละวัย
|
- บรูเนอร์คำนึงในแง่ของการกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
|
- บรูเนอร์เน้นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะทำให้พัฒนาการทางสมองช้าลงหรือชะงักลงและสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะช่วยให้พัฒนาการเป็นไปอย่างรวดเร็ว
|
0 ความคิดเห็น: