วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์

ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)


ประวัติของธอร์นไดค์
เอ็ดเวิร์ด ลี ธอร์นไดค์ (Edward Lee Thomdike) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกา เกิด วันที่ 31สิงหาคม ค.ศ.1814ที่เมืองวิลเลี่ยมเบอรี่ รัฐแมซซาชูเสท และสิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ.1949 ที่เมืองมอนท์โร รัฐนิวยอร์ค
                หลักการเรียนรู้ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง กล่าวถึง การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง โดยมีหลักพื้นฐานว่า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีและเหมาะสมที่สุด

หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี
ธอร์นไดค์ เขาได้เริ่มการทดลองเมื่อปี ค.ศ.1898 เกี่ยวกับการใช้หีบกล( Puzzie-box) เขาทดลองการเรียนรู้จนมีชื่อเสียง

การทดลองใช้หีบกล
การทดลอง ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
                จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
1.กฎแห่งความพร้อม (law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
         ก. กฎแห่งความพร้อม กฎข้อนี้มีใจความสรุปว่า
- เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ
- เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
- เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแต่เขาต้องทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ
2.กฎแห่งการฝึกหัด (low of exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืมได้
กฎการเรียนรู้
            ข. กฎแห่งการฝึกหัด แบ่งเป็น 2 กฎย่อย คือ
- กฎแห่งการได้ใช้ (Law of Use) มีใจความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งขึ้นเมื่อได้ทำบ่อย ๆ
- กฎแห่งการไม่ได้ใช้ (Law of Disuse) มีใจความว่าพันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองจะอ่อนกำลังลง เมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่องมีการขาดตอนหรือ ไม่ได้ทำบ่อย ๆ
3.กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจ จะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
             กฎข้อนี้นับว่าเป็นกฎที่สำคัญและได้รับความสนใจจาก ธอร์นไดด์ มากที่สุด กฎนี้มีใจความว่า พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้มแข็งหรืออ่อนกำลัง ย่อมขึ้นอยู่กับผลต่อเนื่องหลังจากที่ได้ตอบสนองไปแล้วรางวัล จะมีผลให้พันธะสิ่งเร้าและการตอบสนองเข้มแข็งขึ้น ส่วนการทำโทษนั้นจะไม่มีผลใด ๆ ต่อความเข้มแข็งหรือการอ่อนกำลังของพันธะระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
นอกจากกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ ๆ ทั้ง 3 กฎ นี้แล้วธอร์นไดด์ ยังได้ตั้งกฎการเรียนรู้ย่อย อีก 5 กฎ คือ
1. การตอบสนองมากรูป (Law of multiple response)
2. การตั้งจุดมุ่งหมาย (Law of Set or Attitude)
3. การเลือกการตอบสนอง (Law of Partial Activity)
4. การนำความรู้เดิมไปใช้แก้ปัญหาใหม่ (Law of Assimilation or Analogy)
5. การย้ายความสัมพันธ์ (Law of Set or Associative Shifting)

การประยุกต์ทฤษฎีของธอร์นไดค์
1.ธอร์นไดค์ในฐานะนักจิตวิทยาการศึกษา เข้าได้ให้ความสนใจในปัญหาการปรับปรุงการเรียนการสอนของนักเรียนในโรงเรียน เขาเน้นว่า นักเรียนต้องให้ความสนใจในสิ่งที่เรียน ความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อครูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมองเห็นว่ามีความสำคัญต่อตัวเขา
2. ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความพร้อมที่เรียน ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเรียนและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอน เป็นต้น
3. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและทดทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้วในเวลาอันเหมาะสม
4. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความพึ่งพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจต่อตัวเองในการทำกิจกรรมต่อไป

0 ความคิดเห็น: