วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทฤษฏีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต

ทฤษฏีงานพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ต


แนวคิดของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
            ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
            ในการสร้างทฤษฎีงานพัฒนาการ  ฮาวิกเฮิร์ส  ถือว่าการพัฒนาการของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยทางสรีระหรือชีวะแต่เพียงอย่างเดียว  สังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลมีอิทธิพลในการพัฒนาการของบุคคลด้วย  ดังนั้น ฮาวิกเฮิร์ส ได้สรุปว่าตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง
1. วุฒิภาวะทางร่างกาย
2. ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
3. ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
     3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach)
     3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)

การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3. พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
     3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
     3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)
4. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)

พัฒนาการตามวัย
               ตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1. วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี)
- เรียนรู้ที่จะเดิน
-เรียนรู้ที่จะรับประทาน
-เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันตนเองกับพ่อแม่  เป็นต้น
2. วัยเด็กตอนกลาง ( 6-12 ปี )                  
- เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากันได้กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน                   
- สามารถช่วยตนเองได้                                                                                     
- พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ เป็นต้น
3. วัยรุ่น (12-18 ปี)
- รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
- สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมได้
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้
4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ( 18-35 ปี)
- มีการเลือกคู่ครอง
- รู้จักจัดการภารกิจในครอบครัว
5. วัยกลางคน (35-60 ปี)
-  รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์        
- เรียนรู้ที่จะยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
 6. วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)                                                                                          
- สามารถรับตัวได้กับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง               
- ปรับตัวได้กับการที่ต้องเกษียณอายุตลอดจนเงินเดือนลดลง

หลักพัฒนาการแนวคิด
- สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
- เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
- พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
- มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถสังเกตพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้

0 ความคิดเห็น: